วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว

. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน

2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส

1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)

การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

ระบบอื่น ๆ

  • ระบบอื่น ๆ

ในปัจจบันยังมีระบบสื่อสารแบบไร้สายอื่น ๆ ที่มีการนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งบางแบบก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น

  • ระบบอินฟาเรด (Infraed) เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ช่องเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่งทำให้มีระยะทางรับส่งที่ไม่ไกลนัก รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ๆ อยู่บ้างสำหรับพื้นที่ที่การเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก รวมทั้งมีการนำไปใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ด้วย
  • ระบบวิทยุ (Radio) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีปัญหากับการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ ซึ่งจะมีข้อกำหนดในแต่ละประเทศที่เข้มงวดต่างกันไป
  • ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spreas Specturm) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่ถูกพัฒนาโดยกองทัพสหรัฐระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ ในปัจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถรับส่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 10 Mbps และมีการใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กในอาคารเดียวกัน

ระบบดาวเทียม




  • ระบบดาวเทียม (Satellite Systems)


ระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟในส่วนของการใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ แต่ในที่นี้จะใช้ดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 36000 กม. เป็นสถานีในการยิงสัญญาณไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งจากการที่ดาวเทียมลอยอยู่สูงมากนี่เองทำให้สามารถใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอนเพียง 3 ดวง ก็ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดในโลกได้ โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเอง เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-link) และดาวเทียมจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายหางหากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ ก็ทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทางทันที เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-link) หากสถานีปลายทางอยู่นอกขอบเขตสัญญาณ ดาวเทียมจงส่งต่อไปยังดาวเทียมดวงที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้นเพื่อส่งสัญญาณ Down-link ต่อไป


ในปัจจบันการใช้สัญญาณผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการส่งสัญญาณข้อมูล คอมพิวเตอร์ สัญญาณโทรทัศน์ รวมทั้งการใช้ในทางภูมิศาสตร์ ทางทหารต่าง ๆ อย่างมากมาย ข้อเสียที่สำคัญของระบบดาวเทียมคือถูกรบกวนได้จากสภาพอากาศ ฝนหรือพายุ รวามทั้งตำแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ด้วย นอกจากนี้ข้อเสียที่สำคัญอีกอย่างคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ผ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากแม้ว่าสัญญาณจะเดินทางด้วยความเร็วแสง แต่ระบะทางที่สัญญาณต้องวิ่งระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลกถึง 2 รอบ (ขึ้น-ลง) คือ 70000 กม. ทำให้เกิดเวลาหน่วงขึ้น ซึ่งสำหรับบางงานอาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้

ระบบไมโครเวฟ

  • ระบบไมโครเวฟ (Micorwave system)

ระบบไมโครเวฟใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง บ่อยครั้งที่สัญญาณของไมโครเวฟจะถูกเรียกว่าสัญญาณแบบ เส้นสายตา (Line of sight) เนื่องจากสัญญาณเดินทางที่ส่งจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งจะไปได้ไม่ไกลกว่าเส้นขอบฟ้าโลกเพราะสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรงนั่นเอง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่ ๆ สูงเพื่อช่วยให้ส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้นและลดจำนวนสถานนีที่จำเป็นต้องมี โดยปกติแล้วสถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30 - 50 กม.

ปัจจบันมีการใช้ระบบไมโครเวฟกันทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งการเดินทางสายกระทำได้ไม่สะดวก นอกจากนี้ระบบไม่โครเวฟยังจัดว่ามีราคาถูก ติดตั้งง่าย และมีอัตราการส่งข้อมูลสูงด้วย แต่ข้อเสียของไมโครเวฟคือสัญญาณอาจถูกรบกวนได้จากอุณหภูมิ พายุหรือฝน