โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้
ระบบอื่น ๆ
- ระบบอื่น ๆ
ในปัจจบันยังมีระบบสื่อสารแบบไร้สายอื่น ๆ ที่มีการนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งบางแบบก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
- ระบบอินฟาเรด (Infraed) เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ช่องเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่งทำให้มีระยะทางรับส่งที่ไม่ไกลนัก รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ๆ อยู่บ้างสำหรับพื้นที่ที่การเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก รวมทั้งมีการนำไปใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ด้วย
- ระบบวิทยุ (Radio) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีปัญหากับการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ ซึ่งจะมีข้อกำหนดในแต่ละประเทศที่เข้มงวดต่างกันไป
- ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spreas Specturm) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่ถูกพัฒนาโดยกองทัพสหรัฐระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ ในปัจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถรับส่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 10 Mbps และมีการใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กในอาคารเดียวกัน
ระบบดาวเทียม
- ระบบดาวเทียม (Satellite Systems)
ระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟในส่วนของการใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ แต่ในที่นี้จะใช้ดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 36000 กม. เป็นสถานีในการยิงสัญญาณไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งจากการที่ดาวเทียมลอยอยู่สูงมากนี่เองทำให้สามารถใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอนเพียง 3 ดวง ก็ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดในโลกได้ โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเอง เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-link) และดาวเทียมจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายหางหากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ ก็ทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทางทันที เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-link) หากสถานีปลายทางอยู่นอกขอบเขตสัญญาณ ดาวเทียมจงส่งต่อไปยังดาวเทียมดวงที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้นเพื่อส่งสัญญาณ Down-link ต่อไป
ในปัจจบันการใช้สัญญาณผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการส่งสัญญาณข้อมูล คอมพิวเตอร์ สัญญาณโทรทัศน์ รวมทั้งการใช้ในทางภูมิศาสตร์ ทางทหารต่าง ๆ อย่างมากมาย ข้อเสียที่สำคัญของระบบดาวเทียมคือถูกรบกวนได้จากสภาพอากาศ ฝนหรือพายุ รวามทั้งตำแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ด้วย นอกจากนี้ข้อเสียที่สำคัญอีกอย่างคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ผ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากแม้ว่าสัญญาณจะเดินทางด้วยความเร็วแสง แต่ระบะทางที่สัญญาณต้องวิ่งระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลกถึง 2 รอบ (ขึ้น-ลง) คือ 70000 กม. ทำให้เกิดเวลาหน่วงขึ้น ซึ่งสำหรับบางงานอาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้
ระบบไมโครเวฟ
- ระบบไมโครเวฟ (Micorwave system)
ระบบไมโครเวฟใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง บ่อยครั้งที่สัญญาณของไมโครเวฟจะถูกเรียกว่าสัญญาณแบบ เส้นสายตา (Line of sight) เนื่องจากสัญญาณเดินทางที่ส่งจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งจะไปได้ไม่ไกลกว่าเส้นขอบฟ้าโลกเพราะสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรงนั่นเอง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่ ๆ สูงเพื่อช่วยให้ส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้นและลดจำนวนสถานนีที่จำเป็นต้องมี โดยปกติแล้วสถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30 - 50 กม.
ปัจจบันมีการใช้ระบบไมโครเวฟกันทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งการเดินทางสายกระทำได้ไม่สะดวก นอกจากนี้ระบบไม่โครเวฟยังจัดว่ามีราคาถูก ติดตั้งง่าย และมีอัตราการส่งข้อมูลสูงด้วย แต่ข้อเสียของไมโครเวฟคือสัญญาณอาจถูกรบกวนได้จากอุณหภูมิ พายุหรือฝน
(ก) สายคู่บิดเกลียว (ข) สายโคแอกเซียล (ค) สายใยแก้วนำแสง
UTP,STP | COAXIAL | FIBER OPTIC | |
ค่าใช้จ่าย | Low | Med | High |
ระยะทาง | (100 M) | 500 M | 2 KM |
การติดตั้ง | ง่าย | ไม่ยาก | ต้องใช้ความชำนาญ |
สื่อที่เหมาะสม | ข้อมูล | เสียง ภาพ ข้อมูล | ข้อมูลมัลติมีเดียว |
ความเร็ว | ปานกลาง | ปานกลาง | สูงมาก |
การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | รบกวน | รบกวน | ไม่มีผลใด ๆ |
การดักสัญญาณ | สามารถทำได้ | สามารถทำได้ | ไม่สามารถทำได้ |
เปรียบเทียบการใช้งานสายเคเบิลชนิดต่าง ๆ
สายใยแก้วนำแสง
- สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
สายใยแก้วนำแสงจะประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็น ตัวหุ้ม (cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ซึ่งใยแก้วชั้นนอกจะทำหน้าที่เหมือนกระจกที่สะท้อนสัญญาณแสงให้สะท้อนไปมาภายในใยแก้วที่เป็นแกนกลางจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดปลายทาง สายใยแก้วจะมีแบนด์วิธที่กว้างมาก ทำให้สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากได้ด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้ยังส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่าและปลอดจากรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเนื่องจากใช้แสงเป็นตัวนำสัญญาณ แต่ข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก รวมทั้งมีราคาแพงที่สุดในจำนวนสายสัญญาณที่กล่าวมาทั้งหมด
สารโคแอกเซียล
- สารโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
มันเรียกสั้น ๆ ว่า สายโคแอก จะเป็นสายสื่อสารที่สามรถส่งข้อมูลไกลกว่าสายแบบคู่บิดเกลียว แต่มีข้อเสียคือราคาสูงกว่า ลักษณะของสายโคแอกจะประกอบด้วยส่วนของสายส่งข้อมูลที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนอยู่ตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์จากนั้นจึงหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สารโคแอกจะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบตด์และบรอดแบรนด์ พบการใช้งานได้มากจากสายเคเบิลทีวี ในปัจจุบันการใช้งานสายโคแอกกับระบบคอมพิวเตอร์เริ่มลดลง เนื่องจากการพัฒนาของสายคู่บิดเกลียวที่ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ
อุปกรณ์เชื่อมต่อสายคู่บิดเกลียว
สายคู่บิดเกลียวตามมาตรฐาน EIA/ITA-568 สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ
- Category 1 เป็นสาย UTP ที่ใช้ในระบบสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เมหาะสำหรัส่งสัญญาณเสียงไม่เหมาะกับการส่งข้อมูล
- Category 2 เป็นสาย UTP ซึ่งเหมาะสำหรับกับการส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 4 เมกะบิตต่อวินาที
- Category 3 เป็นสาย ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 10 เมกะบิตต่อวินาที มีการใช้งานมากในระบบ Token ring แบบ 4 Mbits/sec และ 10Base-T
- Category 4 เป็นสายซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 16 เมกะบิตต่อวินาที มีใช้ในระบบ Token ring แบบ 16 Mbits/sec
- Category 5 เป็นสายที่เหมาะสมกับการส่งข้อมูงได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาทที มีใช้ในระบบเครือข่ายความเร็วสูงรุ่นใหม่ ๆ เช่น Fast Ethernet และ ATM (Asynchronous Transfer Mode)
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
- ระบบแบบเดินสายเคเบิล (Wired system)
จะรวมถึงสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด โดยระบบเครือข่ายที่เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ห่างกันไม่มากนักจะสามารถใช้วิธีเดินสายแบบต่าง ๆ เอง ส่วนสายเคเบิลสำหรับการติดต่อระยะไกลโดยปกติก็คือระบบสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม (POTS - Plain Old Telephone Service) นั่นเอง
สายสัญญาณที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะมีชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะระเครือข่าย และความต้องการในการใช้งานดังนี้
- สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลต์และไม่มีชีลต์ (Shielded and UnShielsed Twisted-Pair Cable)
เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยปกติแล้วสายคู่บิตเกลียวจะ หมายถึง สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (UTP) ซึ่งใช้ในการเดินสายโทรศัพท์และใช้ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ส่วนมาก ในขณะที่ สายคู่บิดเกลี่ยวแบบมีซิลด์ (STP) จะมีฉนวนโลหะหุ้มอยู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้สามารถป้งอันสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น สายเกลียวคู่หนึ่งคู่จะแทนช่องทางการสื่อสาร (channel) เพื่อให้สามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่าง เช่น ระบบสายโทรศัพท์
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
กีฬาวัวลาน
ในช่วงสงกรานต์ที่มา ทางจังหวัดเพชรบุรีได้จัดให้มีงานพระนครคีรีขึ้นมา และยังมีงานแข่งวัวเทียมเกวียน วัวลาน ขึ้นมาที่อำเภอบ้านลาด ซึ่งจัดเป็นที่สนุก คึกคัก ซึ่งเป็นกิจกรรมพื้นบ้านที่นิยมเฉพาะกลุ่มชาวบ้านในละแวกนั้น ในงานการแข่งวัวเทียมเกวียน ยังมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนอยู่ด้วย อย่างเช่น การแข่งขึ้นตาล เพราะเมืองเพชร เป็นแหล่งน้ำตาลที่เลื่องชื่อ การแข่งวัวลานหรือวัวเทียนเกวียน ก็เป็นวิถีชีวิตชาวนาที่ผูกพันกับวัวมาช้านาน
ในงานแข่งวัวเทียมเกวียนจะมีเป็นรอบๆ ในบริเวณงานจะมีลานวิ่งของวัวเทียมเกวียน มีการจับคู่เป็นรุ่นๆ มีกรรมการการตัดสิน มีผู้พากย์ที่สนุกสนาน การแข่งวัวเทียมเกวียน ก็ใช้วัวตามรุ่นตามขนาด แข่งในลานวิ่ง ใครเข้าเส้นชัยก่อน ถือว่าเป็นผู้ชนะ แต่ตอนปลายเส้นชัย บรรดาวัวที่เข้าแข่งขัน จะวิ่งเลยเตลิดไปไม่หยุด จนทีมผู้เข้าแข่งขัน ต้องไล่ตามยื้อยุด เพื่อหยุดทั้งวัวและเกวียนให้ได้ ซึ่งกลายเป็นความสนุกสนานของผู้ชม
ในงานแข่งวัวเทียมเกวียน ยังมีกิจกรรมการแข่งขันปีนต้นตาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพราะชาวเมืองเพชรบุรี ส่วนหนึ่งมีอาชีพทำตาลมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การแข่งขันแข่งต้นตาลก็เรียกผู้ชมและเสียงเฮฮาได้ไม่น้อย
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ฟาร์มวัวลาน ทีมงานปากกรอก ราชบุรี
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สถานที่เล่นวัวลาน
วัวลานในปัจจุบัน
การวัวลานในปัจจุบันนิยมเล่นในงานวัด เพื่อหารายได้ให้ทางวัด และในท้องนา จะเริ่มเล่นกันประมาณเวลา 22:00 - 8:00 น. วัวทั้งหมดจะวิ่งเป็นวงกลมรอบๆลานซึ่งมีเสาอยู่ตรงกลาง จะมีสองกลุ่ม ทั้งหมดมี 19 ตัว เรียกว่า วัวนอก กับ วัวคาน ซึ่งเป็น วัวที่มาร่วมเล่นด้วยโดยไม่แข่งขัน โดยที่วัวตัวในสุดจะเป็นวัวที่ตัวใหญ่ที่สุด และขนาดตัวของวัวก็จะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ
วัวคานจะมี 18 ตัว (ตัวที่ 18 เรียกว่า วัวรอง) นำวัวคาน 18 ตัว มาผูก แล้วก็จะมีการต่อรองราคา (เพราะความเห็นไม่ตรงกัน)ของผู้ชมและเจ้าของ เมื่อการต่อรองเสร็จสิ้น ก็จะ นำวัวนอก (ตัวที่ 19) มาผูกวิ่งเป็นวงนอกสุด (ซึ่งมีระยะการวิ่งไกลมาก) หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มันวิ่ง แล้วก็ใช้เหล็กแหลมแทงมันเพื่อกระตุ้นพลัง การแพ้ชนะคือ เช่น วัวนอกหมดแรง หรือ วัวคานเชือกหลุด หรือวัวรองโดนวัวนอกแซงแล้วเบียดเข้ามาข้างในแทนตำแหน่งที่ 18
วัวลาน
การปลูกข้าวอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ และชาวนาไทยก็ได้อาศัยแรงงานจากวัวไถคราด และงานอื่นๆ นอกผืนนา เช่น งานนวดข้าว ทำนาโดยใช้แรงงานจากวัว มานานถึงประมาณ 5,000 ปี เพราะวัวเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่ มีแรงมาก เชื่อง ฝึกง่าย และกินหญ้าและฟาง วัวที่ใช้งานส่วนใหญ่ จะเป็นวัวตัวผู้ที่ตอนแล้ว ส่วนวัวตัวเมียเลี้ยงไว้ขยายพันธุ์แล้วขายหารายได้ การใช้งานวัวของชาวนา วัวคู่หนึ่งสามารถไถนาได้เนื้อที่ ประมาณ 20 ไร่ การเล่นวัวลาน ได้มีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าว